เมนู

อรรถกถาอุปสัมปทาสูตรที่ 4


อุปสัมปทาสูตรที่ 4

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อนภิรตึ ได้แก่ ความเป็นผู้กระสัน. บทว่า วูปกาเสตุํ
ได้แก่ กำจัด. บทว่า อธิสีเล ได้แก่ ศีลสูงสุด. แม้ในจิตและปัญญาก็นัยนี้
เหมือนกัน.
จบอรรถกถาอุปสัมปทาสูตรที่ 4

5. นิสสยสูตร1


ว่าด้วยภิกษุประกอบด้วยธรรม 10 ประการถึงให้นิสัย


[34] อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรมเท่าไร
หนอแล พึงให้นิสัย. ฯลฯ
จบนิสสยสูตรที่ 5

6. สามเณรสูตร2


ว่าด้วยภิกษุประกอบด้วยธรรม 10 ประการ พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก


อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอแล
พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการแล พึง
ให้สามเณรอุปัฏฐาก 10 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น
ผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มี
ปกติเห็นภัยในโทษอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท

1-2. สูตรที่ 5-6 ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.

ทั้งหลาย 1 เป็นพหูสุต. ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ 1 ปาติโมกข์เป็น
อุเทศอันภิกษุนั้นเรียนดีแล้ว ฯลฯ 1 ภิกษุนั้นเป็นผู้สามารถเพื่ออุปัฏฐาก
เอง หรือเพื่อให้ผู้อื่นอุปัฏฐากซึ่งสัทธิวิหาริกผู้เป็นไข้ 1 เป็นผู้สามารถเพื่อ
ระงับเองหรือเพื่อให้ผู้อื่นช่วยระงับซึ่งความไม่ยินดียิ่ง 1 เป็นผู้สามารถ
บรรเทาความรำคาญที่เกิดขึ้นแล้วโดยธรรม 1 เป็นผู้สามารถเพื่อเปลื้อง
ความเห็นผิดที่เกิดขึ้นแล้วโดยธรรม 1 เป็นผู้สามารถเพื่อให้สมาทานใน
อธิศีล 1 เป็นผู้สามารถเพื่อให้สมาทานในอธิจิต 1 เป็นผู้สามารถเพื่อ
ให้สมาทานในอธิปัญญา 1 ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10
ประการนี้แล พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
จบสามเณรสูตรที่ 6

7. อุปาลิสังฆเภทสูตร


ว่าด้วยวัตถุ 10 ประการที่ทำให้สงฆ์แตกกัน


[35] อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า สังฆเภท
สังฆเภท
ดังนี้ สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล.
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่
ใช่ธรรมว่าเป็นธรรม 1 ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่าไม่เป็นธรรม 1 ย่อม
แสดงสิ่งที่ไม่ใช่วินัยว่าเป็นวินัย 1 ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัยว่าไม่เป็นวินัย 1
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้กล่าวไว้ไม่ได้บอกไว้ว่า ตถาคตกล่าวไว้บอก
ไว้ 1 ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตกล่าวไว้บอกไว้ว่า ตถาคตไม่ได้กล่าวไว้ไม่
ได้บอกไว้ 1 ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่เคยประพฤติมาว่า ตถาคตเคย
ประพฤติมา 1 ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตเคยประพฤติมาว่า ตถาคตไม่เคย